วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 7

วิธีการทำ Webboard ให้สวยงาม

(1) การใส่ปฏิทิน
                                                           
                                     (2) การใส่นาฬิกา
                                                                                 
                                               (3) การทำสไสด์
  
(4) การปรับแต่งสีใน Webboard

                (5) การใส่เพลงลงใน Webboard


การตกแต่งบล๊อก ด้วยปฏิทิน นาฬิกา สไลด์รูปต่างๆ เปลี่ยนสีในรูปแบบ และเพลงนั้น จำเป็นจะต้องใช้โค้ด(ภาษา HTML) ซึ่งเป็นโค้ดที่ต้องเพิ่มใน Gadget ซึ่งเมนูการเพิ่มจะอยู่ที่
แผงควบคุม ---> รูปแบบ ---> เพิ่ม Gadget ---> เพิ่มจาวา/HTML ---> วางโค้ดของปฎิทิน/นาฬิกา/เพลงที่เราได้คัดลอกมาจากโค้ดที่เราค้นหาโดยใช้ Google ---> แล้วสั่งบันทึก ซึ่งจะกลับมาที่หน้ารูปแบบ--->สั่งบันทึกอีกครั้ง--->จะขึ้นข้อความว่าได้"ได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงแล้ว ดูบล๊อก" ---> ซึ่งสามารถดูบล๊อกได้ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่
สำหรับการค้นหาโค้ด โดยใช้ Google นั้น เมื่อเข้าเว็บ Google แล้วใช้คำค้นหา เช่น โค้ดเพลง/โค้ดปฏิทินแต่งบล๊อก/โค้ดนาฬิกา / โค้ดแต่งบล๊อก /หรือระบุเพลงที่ต้องการ เช่น โค้ดเพลงอวยพรวันเกิด/โค้ดเพลงร๊อก/โค้ดเพลง(ชื่อเพลง)
เมื่อได้หน้าเว็บGoogle ที่ขึ้นผลการค้นหาแล้ว เลือกเปิดลิงค์ต่าง ๆ ก็จะได้หน้าเว็บ บางเว็บอาจต้องดาวน์โหลดโค้ด บางเว็บก็ copy โค้ดได้เลย
เมื่อได้โค้ดแล้ว select code แล้วนำไปวางใน Gadget ที่ได้สั่งเพิ่ม HTML/จาวาสคริปต์

ใบงานครั้งที่ 8

1.ความหมายของสถิติ
สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความหมายต่างกัน กล่าวคือ
ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4.ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา ผิวสี ฯลฯ ไม่สามารถนำมาจัดลำดับ หรือนำมาคำนวณได้
-ข้อมูลระดับอันดับ (Ordinal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ แล้วยังสามารถบอกอันดับที่ของความแตกต่างได้ แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างของอันดับที่แน่นนอนได้ หรือไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอันดับที่จัดนั้นมีความแตกต่างกันของระยะห่างเท่าใด เช่น อันดับที่ของการสอบของนักศึกษา อันดับที่ของผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ฯลฯ
-ข้อมูลระดับช่วงชั้น,อันตรภาค (Interval Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีช่วงห่าง หรือระยะห่างเท่าๆ กัน สามารถวัดค่าได้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ GPA คะแนน I.Q. ฯลฯ
-ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีมาตราวัดหรือระดับการวัดที่สูงที่สุด คือนอกจากสามารถแบ่งกลุ่มได้ จัดอันดับได้ มีช่วงห่างของข้อมูลเท่าๆกันแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่มีศูนย์แท้เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง รายได้ จำนวนต่างๆ ฯลฯ
5.ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
6. สมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ หรือตอบปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัย ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ฯลฯ เป็นการเสนอคำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลจากการไปตรวจสอบเอกสาร หรือเป็นการเดาอย่างมีเหตุผลซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
ประเภทของสมมุติฐาน ในวงการวิจัยนั้น สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1. สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ
2. สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน
7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 9

คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้
1. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. มีจิตวิญญาณนักบริหาร
3. เป็นผู้นำทางการศึกษา
4. มีความรู้ความสามารถในการบริหาร
5. มีผลงานที่แสดงถึงความชำนาญการในบริหารสถานศึกษา
6. นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร

1. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้ที่มี “ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์” เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และเจริญรุดหน้าไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างรวดเร็ว เพราะวิทยาการต่าง ๆ ในโลกก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้ผู้บริหารมืออาชีพมี “วิสัยทัศน์” สามารถกำหนดภาพอนาคตของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจนและเหมาะสมกับยุคสมัย ตลอดจนกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อนำสถานศึกษาไปสู่จุดหมายนั้น
2. มีจิตวิญญาณนักบริหาร
ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องมีจิตวิญญาณนักบริหารอย่างน้อย 3 ประการ คือ
2.1 อุทิศตนเพื่อหน้าที่
เป็นผู้ที่มีรักและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มุ่งมั่น ขยัน อดทน เสียสละที่จะทำงานในหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนำสถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จใน การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพอย่างสมบูรณ์ ตามจุดหมายของการปฏิรูปการศึกษา
2.2 มีความเป็นปัญญาชน
เป็นผู้นำดำเนินชีวิตและทำงานในหน้าที่โดยใช้ “ปัญญา” พิจารณาด้วยเหตุผล ตามหลักกาลามสูตร ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์โลภ โกรธ หลง และความลำเอียงด้วยอคติต่าง ๆ มีจิตใจที่เข้มแข็งหนักแน่นในเหตุผลแห่งความถูกต้อง ในความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรม
2.3 บริหารตนเป็นอย่างที่ดี
เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญต่อการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในทุกด้าน ทั้งด้านความเก่ง ความดี และความมีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตในฐานะที่มีหน้าที่เป็นผู้นำในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยยึดหลักว่า “จะพัฒนาใครเขาต้องพัฒนาตัวเองก่อน” นอกจากนี้ การพัฒนาตนให้มี “ภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน” ยังช่วยให้ผู้บริหารได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายและประสบความสำเร็จสูงขึ้น
3. เป็นผู้นำทางการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ จะต้องเป็นผู้มี “ภูมิรู้” ทางด้านการศึกษา เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับสภาวะแวดล้อมในสังคม สามารถวิเคราะห์ปัญหาและแนวโน้มทางการศึกษาของไทยได้อย่างชัดเจน มีความเป็นผู้นำในการปฏิรูปการศึกษา เป็นผู้นำทางวิชาการ และเป็นผู้นำในการบริหาคุณภาพการศึกษา
4. มีความรู้ความสามารถในการบริหาร
ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ นอกจากจะต้องมี “ภูมิรู้” ทางด้านการศึกษาแล้ว ยังต้องมี “ภูมิรู้” ทางด้านบริหารอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ในหลักการบริหาร เทคนิคการบริหาร และการวางแผนกลยุทธ์ ตลอดจนสามารถนำ “หลักวิชา” ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการศึกษา อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูง
5. มีผลงานที่แสดงถึงความชำนาญการในบริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพจะต้องมีความสามารถในการใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหาร มาพัฒนาการบริหารงานด้านต่าง ๆ ภายในสถาบันการศึกษาให้ประสบความสำเร็จสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีความสามารถในการบริหารทรัยากรบุคคล เงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ และอาคารสถานที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ตลอดจนมีความสามารถในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน มาช่วยจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้สูงสุด
6. นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร
ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในยุคปัจจุบัน จะต้องรู้จักนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาผู้เรียนประสบความสำเร็จ มีคุณภาพสมบูรณ์ ทั้งเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุขในชีวิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 10 ประวัตินักศึกษา


ประวัตินักศึกษา
นายอัมรินทร์ 
ทองรัตน์
เกิดเมื่อ
30 เมษายน 2516
ภูมิลำเนา
9 หม่ 1 ตำบลไทรขึง
อำเภอพระแสง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
84210
ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดสามพัน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มัธยมศึกษา โรงเรียนสุราษฎร์ธานี
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประกาศณียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคสตูล
ประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซีเมนต์ไทยอนุสรณ์ จังหวัดสระบุรี,
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
ประวัติการทำงาน
สถานศึกษาบรรจุครั้งแรก ปี พ.ศ. 2539 ตำแหน่ง อาจารย์ 1 วิทยาลัยเทคนิคสตูล
ปัจจุบัน ตำแหน่งครู คศ.2 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

ใบงานครั้งที่ 11

ใบงานครั้งีท่ 11
ความรู้สึก ความคิดเห็นที่ได้เรียนกับอาจารย์

อาจารย์ใช้วิธีการสอน โดยให้นักศึกษาปฏิบัติจริงในการเรียน
ให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในเรื่องที่สามารถใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาในสถานศึกษาต้นสังกัดได้
ทำให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักศึกษามากขึ้น

ความรู้สึกส่วนตัว ผมได้รับความรู้ตรงกับการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งผมสอนประจำแผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ต้องมีความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้สอนนักศึกษา
              คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 1

ใบงานครั้งที่ 1

1. อธิบายความหมายของคำสำคัญต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง (ศึกษากรณีศึกษาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศในสถานศึกษา)


1. การจัดการ/การบริหารการบริหารจัดการ (Management) หมายถึง ชุดของหน้าที่ต่างๆ (A set of functions) ที่กำหนดทิศทางในการใช้ทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรได้อย่างเฉลียวฉลาดและคุ้มค่า (Cost-effective) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) นั้นหมายถึงการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง (Right decision) และมีการปฏิบัติการสำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้นผลสำเร็จของการบริหารจัดการจึงจำเป็นต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควบคู่กัน


2. นวัตกรรม (Innovation) หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

3. เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ

4. ข้อมูล (data)หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีความหมาย เฉพาะตัว อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ แหล่งที่มา
ข้อมูลภายใน คือ ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น
ข้อมูลภายนอก คือข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ

5. สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
ประโยชน์ของสารสนเทศ

1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ

2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน

3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ

4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำ

6. ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูลตังต่อไปนี้ 1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน 2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้ 3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้ 4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอ เพื่อให้อยู่ในภาพที่ถูกต้องทันสมัย

7. ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา(Information System for Educations) คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจัดการศึกษาเพื่อกระทำให้เป็นสารสนเทศทางการศึกษา การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์

8. การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารที่เกิดขึ้นมากมาย บ้างก็สำเร็จ บ้างก็เกิดปัญหาไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้อย่างประสบความสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบครบดังต่อไปนี้
1. หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit) หรือ ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmission Channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
3. หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit) หรือผู้รับข่าวสาร เป็นจุดหมายปลายทางของข่าวสาร ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสาร

9. เครือข่าย (network) หมายถึง การประสานงานรูปแบบหนึ่งที่โยงใยการทำงานของกลุ่มบุคคล หรือ องค์กรหลายองค์กร ซึ่งมีทรัพยากร มีเป้าหมาย มีกลุ่มสมาชิกของตนเอง ที่มีความคิด มีปัญหา มีความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกันหรือคล้ายกัน มาติดต่อประสานงานหรือร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในเรื่องนั้นๆ โดยยึดหลักการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกัน มากกว่าการเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้มีอำนาจสั่งการ

10. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์


11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (Information and Communication Technologies for Educations) หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

song


Happy Vampires โหลดเพลงแกรมมี่แบบไม่ยั้ง แค่เดือนละ 20 บาท Click ที่นี่เลย

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 6 เว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูล

เว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูล

www.yahoo.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลในการค้นหาอย่างมากมายและผู้ใช้มากถึง 200,000 คนต่อวัน
www.looksmart.com เว็บไซต์ที่เก็บรายชื่อของเว็บไซต์ต่างๆ ไว้มากมาย 1,000,000 เว็บไซต์
www.snap.com เว็บไซต์ที่มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
www.sanook.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูล เว็บไซต์ยอดนิยมของไทย
www.108-109.com เว็บไซต์ที่มากกว่า 4,000 ลิงค์ และยังมีชื่อที่อยู่เบอร์ icq ในประเทศ
www.pattayadirectory.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัทยาได้ครบที่สุด
www.siaminside.com เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่โดยเฉพาะ
www.thaiall.com เว็บไซต์ที่มีอยู่มากมาย บริการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม
www.thaitop.com หนึ่งในเว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูลตามหวมดหมู่ที่สมบูรณ์ของไทย
www.i-kool.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์อีกเว็บหนึ่งของไทย
เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเครื่องจักรค้นหา Search Enging ได้แก่
1 www.altavista.com เครื่องจักรค้นหายอดนิยม อันดับต้นๆ
2 www.Excite.com การหาข้อมูล ข้อความที่หาความสัมพันธ์กับกลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3 www.infoseek.com เว็บไซต์เพื่อค้นหาข้อมูลที่มีรายละเอียดของเว็บต่างๆ ถึง 30 ล้านเว็บไซต์
4 www.lycos.com เครื่องจักรค้นหาที่ได้รับความนิยมเท่ากับ yahoo.com
5www.hotbot.com เว็บไซต์ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่
6 www.thaiseek.com เครื่องจักรค้นหาและรวมไดเร็คทรอรี่ของไทย
7 www.madoo.com/search/ เว็บไซต์ที่รวบรวมเว็บไซต์ที่เป็น Search Enging เอาไว้
8 www.siamguru.com เว็บไซต์ใหม่ที่กำลังมาแรง ในการค้นหาแบบ เครื่องจักรค้นหา
9 www.asialycos.co.th เว็บไซต์เครื่องจักรค้นหาที่ทำเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ

ใบงานที่ 6

ประโยชน์ google

ประโยชน์ของ Google ในการบริการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้

1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา(Search Engines) Google Web Search Features ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้
 Book Search : บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ
 Cached Links :บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่คุณต้องการจะค้นหา
 Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย
 Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
 Definitions : หมวดคำศัพท์ที่คุณสามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
 File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก
 Groups : ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้ I ‘m Feeling Lucky : ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป
 Images : ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ
 Local Search : บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา
 Movie : คุณสามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้ Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก
 News Headlines : บริการที่ทำให้คุณสารารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์ PhoneBook : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา
 Q&A : บริการใหม่ที่คุณอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้คุณได้ทุกเรื่อง
 Similar Pages : บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง
 Site Search : กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง
 Spell Checker : เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ
 Stock Quotes : ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์
 Travel Information : บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน
 Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ
 Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆ

2. บริการในกลุ่ม Google Services
 Alerts : บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์
 Answer : บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
 Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog ในประเด็นที่คุณสนใจ
 Catalogs : บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์
 Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์
 Labs : บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม
 Mobile : บริการหลักของ Google ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS
 News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้คุณได้อ่านก่อนใคร
 Scholar : บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย
 Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
 Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่คุณสามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ

3. บริการในกลุ่ม Google Tools
 Blogger : เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของคุณเอง
 Code : เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code
 Desktop : เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
 Earth : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม
 Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์
 Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุดเก่ง Firetox
 Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
 Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ
 Talk : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถพูดคุย ส่งอีเมล์ กับเพื่อนของคุณแบบเรียลไทม์ออนไลน์
 Toobar : กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google
 Translate : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา
 Labs : กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้ฟรี ที่มา:http://learners.in.th/blog/meaw-3/116386

Search Engine


1. แบบอาศัยการจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก Crawler Based Search Engines หมายความว่าเว็บ Search Engine ประเภทนี้ต้องทำการเข้าไปจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของ ข้อความ รูปภาพ Link หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนเว็บเพจต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตจากนั่นก็จะนำข้อมูลมาเก็บไว้ในเซฟเวอร์ Server ของตนเอง สร้างซอฟแวร์ที่จะเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลและแสดงผลเมื่อเวลามีผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้งาน Search Engine ประเภทนี้ได้รับความนิยมใช้งานจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยสิ่งที่ส่งเข้าไปเก็บข้อมูลถูกเรียกว่า Search Engine Robots หรืออาจเรียกว่า Search Engine Spider สองคำนี้ทางเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลก็จะทำการตั้งชื่อเล่นเพื่อให้งานต่อการ เรียก คือ Googlebot(www.google.com) Slurp (www.yahoo.com) และ MSNbot (www.msn.com) 2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory) เว็บให้ความหมายนี้ก็คือหน้าเว็บเพจ (เอกสารทั่วไปที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่อยู่ในรูป.html และอื่นๆ)ส่วนคำว่า Directory คือการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและเรียกใช้งาน ซึ่งก็คือคำว่า Floder (โฟลเดอร์ กล่องเก็บข้อมูลที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์วินโดว์) เว็บไดเรกทอรีจะอาศัยหลักการทำงานง่ายก็คือจะทำซอฟแวร์หรือชุดคำสั่งไว้ค่อย ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมาเพิ่มเว็บไซต์ของตนตามหมวดหมู่ที่เตรียมไว้ให้หรือ อาจจะการเพิ่มหมวดหมู่ก็ได้ ถ้ามีผู้คนมาทำการเพิ่มเว็บไซต์เยอะเว็บต้องกล่าวก็อาจจะเป็นคล้ายสมุดหน้า เหลืองของบ้านเราเป็นได้ครับ เช่นเว็บ http://www.dmoz.org เป็นตัวอย่างของเว็บไดเร็กทอรีที่ได้รับความนิยมสูง อีกเว็บหนึ่ง 3. แบบอ้างอิงคำในแท็ก Meat Search Engine ว่ากันว่าเว็บ Search Engine ประเภทนี้ไม่มีเครื่อง Server สำหรับเก็บข้อมูลโดยตรง ไม่ได้หมายถึงเครื่องที่ทำเป็น Web server?นะครับ แต่จะอาศัยข้อมูลจากเว็บ Search Engine ประเภทอื่นๆ?เวลาทำงานก็จะทำการจดจำ Keyword:?คำสืบค้น?ที่อยู่ในชุดคำสั่ง Tag Meta?ของหน้าเอกสาร HTML หรือเว็บเพจที่อยู่บนอินเทอร์?นำมาประมวลผลร่วมกัน ตัวอย่างเว็บ Search Engine ครับwww.metacrawler.com?ทิ้งท้ายเรามาดูกันครับว่าในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้ Search?Engine ในปริมาณเท่าใด

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 4

ใบงานครั้งที่ 4

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

สืบค้นจาก www.tistr.or.th/KM/index.php?option=com

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
สืบค้นจาก http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ ค้นคว้า สืบค้น เรียนรู้ ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการและอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่งข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการนำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูล
มากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น ค้นคว้า มาใช้ในการเรียนและงานต่างๆ มากมาย
ตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน
1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. ซีดี วีซีดี ดีวีดี วีดีโอ ภาพยนต์
3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว
4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี วิทยุ ระบบอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม

สืบค้นจาก http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm

แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ 1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก
2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น

สืบค้นจาก http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech02/08/2/webit/p5.html





เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

สืบค้นจาก http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงสัญลักษณ์ หรือกลิ่น ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยวิธีการที่ เรียก ว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data Manipulation) และผลที่ได้อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่าง เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผ่นใส ฯลฯ และเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ

สืบค้นจาก www.panyathai.or.th/wiki/index.php

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
สรุป ความรู้ที่ได้รับในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2552

เรื่องที่ได้เรียนรู้
การจัดหาความรู้ ได้แก่
- แนวคิดและกลยุทธ์ในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
- บทบาทใหม่ของการบริหาร ทุนมนุษย์
- การจัดการความรู้: แนวคิด
ข้อมูล ความเฉลียวฉลาด ความรู้ เชาว์ปัญญา
- ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสารสนเทศ ความรู้และปัญญา
- การบริหารทรัพยากรบุคคล ในฐานะทรัพย์สินที่จับต้องได้
- ความรู้อยู่ที่ไหนในหน่วยงาน
- ความสำคัญของทรัพยากรบุคคล (ทุนมนุษย์)
- การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
รูปแบบของความรู้ รูปแบบการจัดการความรู้ โมเดลปลาทู การบวนการจัดการความรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ เครือข่ายความรู้ ประโยชน์จของ CoP วงจรการเรียนรู้ของสมาชิก CoP
คลังความรู้
- ข้อควรระวังในการทำ KS
- กระบวนการจัดการความรู้
การเชื่อมโยง KM สู่วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็น ยุทธศาสตร์
- องค์การที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์
- การบริหารจัดการความรู้คืออะไร
- องค์ประกอบสำคัญ ของการบริหารจัดการความรู้
- ประเภทของความรู้

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการในการผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อสนองตอบความต้องการกำลังคนในการพัฒนาประเทศ โดยในปี 2551 ได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการอาชีวศึกษา เพื่อสร้างความนิยมในการเรียนวิชาชีพให้กับสังคม มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียน ในขณะเดียวกันได้ใช้กิจกรรมการบริการสังคมในโครงการและวาระพิเศษต่างๆเพื่อให้สังคมได้รับรู้ถึงศักยภาพของผู้เรียนอาชีวศึกษา และเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนทั้งในด้านการฝึกงานวิชาชีพและปลูกฝังสำนึกการบริการสังคม นอกจากนี้ได้เน้นเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมรับผิดชอบและมีบทบาทในการจัดการอาชีวศึกษาร่วมกันมากขึ้น ผลการดำเนินการดังกล่าวในปี 2551 ช่วยทำให้การอาชีวศึกษาเป็นที่รู้จักกับสังคมมากขึ้น และกลุ่มเป้าหมายต่างต้องการเข้าสู่ระบบอาชีวศึกษา ดังนั้นในปี 2552 นี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงต้องการที่จะพัฒนาด้านคุณภาพให้เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับปริมาณผู้เรียน และขยายบทบาทการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับผู้เรียนที่เป็นผู้มีงานทำแล้ว ผู้ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพ และผู้ที่กำลังหางานทำให้มากขึ้น และให้ความสำคัญกับการค้นหา พัฒนา เผยแพร่ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อสร้าง และพัฒนาอาชีพให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จึงได้กำหนดแผนปฏิบัติราชการในปีงบประมาณ 2552 ไว้ดังนี้

วิสัยทัศน์
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นองค์กรหลักที่มุ่งมั่นผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

พันธกิจ
• จัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพมาตรฐาน
• ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพ อย่างทั่วถึงและเสมอภาค
• วิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาอาชีพ
ในการผลักดันให้วิสัยทัศน์และพันธกิจบรรลุตามเป้าหมายนั้น สำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษาได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 6 ยุทธศาสตร์ 35 กลยุทธ์ ดังนี้




ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพ มาตรฐาน

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีภารกิจเกี่ยวกับการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพโดยคำนึงถึงคุณธรรมและความเป็นเลิศทางวิชาชีพ
การพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ จะเน้นการผลิตกำลังคนให้มีคุณภาพมาตรฐาน มีเส้นทางอาชีพที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนให้มีการรับรองสมรรถนะของบุคคลในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และสร้างค่านิยมที่ดีต่อการอาชีวศึกษา โดยมีเป้าประสงค์ให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพมีคุณภาพ มาตรฐาน มีงานทำและดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม โดยมีกลยุทธ์หลักคือ
1. พัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
2. เร่งรัดพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะผู้เรียน
3. สร้างมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล
4. ส่งเสริมการประกันคุณภาพสถานศึกษา
5. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
6. พัฒนาสถานศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษาให้ได้มาตรฐาน มีความเป็นเลิศทางวิชาชีพ
7. สร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ ปลูกจิตอาสา ด้วยการบริการสังคม
8. ส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อ นวัตกรรม มาใช้ในการเรียนการสอน เสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
9. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อการอาชีวศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือ

การผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตรงตามความต้องการของประเทศ ต้องได้รับร่วมมือกับองค์กรที่ต้องการใช้กำลังคน ตั้งแต่ภาคการผลิต เอกชน รัฐวิสาหกิจ และชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาทั้งในและต่างประเทศ นำไปสู่การกำหนดหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอนในการผลิตกกำลังคนได้ตรงกับความต้องการภาคการผลิตและความต้องการของผู้ใช้ โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและท้องถิ่น และมีกลยุทธ์ คือ
1. ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ


2. สร้างความเข้มแข็งในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
3. พัฒนาฐานข้อมูลความร่วมมือ
4. พัฒนาศูนย์กำลังคนอาชีวศึกษา
5. ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุน การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพของสถานศึกษาเอกชน สถานประกอบการและเครือข่าย

ยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาระบบบริหารจัดการอาชีวศึกษา
คุณภาพของการอาชีวศึกษา มีระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อคุณภาพ การปฏิรูประบบราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) ซี่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ ในขณะที่กฎหมายการอาชีวศึกษาได้ระบุถึงการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ซึ่งต้องมีการพัฒนาระบบการบริหารและจัดการในรูปแบบสถาบันการอาชีวศึกษาควบคู่ไปด้วย อีกทั้งจากการประกาศใช้กฎหมายการอาชีวศึกษาดังกล่าว มีผลให้ต้องสร้างกฎหมาย กฎระเบียบ ต่างๆเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาระบบบริหารและจัดการอาชีวศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดกลยุทธ์ไว้ดังนี้
1. จัดและพัฒนาโครงสร้างการบริหารงานให้เป็นไปตาม ก.ม.การอาชีวศึกษาและ
ก.ม.อื่นที่เกี่ยวข้อง
2. พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและธรรมาภิบาล
3. พัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
4. กระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่สถานศึกษาและสถาบัน
5. ผลักดันการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา
6. พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ
7. พัฒนาระบบการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพ
8. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการให้บริการ
9. เสริมสร้างสวัสดิการและขวัญกำลังใจ





ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มุ่งเน้นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาด้านวิชาชีพที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีจุดมุ่งหมายให้คลอบคลุมประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็ก เยาวชน วัยแรงงาน สตรี ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ยากไร้ ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้ห่างไกลทุรกันดารและชนกลุ่มน้อย มีกลยุทธ์ดังนี้

1. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ด้วยรูปแบบที่
หลากหลายทั้งในระบบ นอกระบบ และทวิภาคี
2. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ประชาชนในการสร้างงานสร้างรายได้
3. จัดการศึกษาวิชาชีพแก่ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ
4. ส่งเสริมให้มีการสร้างรายได้ระหว่างเรียน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : จัดอาชีวศึกษาเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงของรัฐ
ส่งเสริมการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดน ให้เป็นกลไกเสริมสร้างความสมานฉันท์ สันติวิธี
วิถีประชาธิปไตย บนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่
มีความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนาวิชาการ/วิชาชีพ เตรียมความ
พร้อมรองรับการเปิดเสรีการค้าในอนาคต โดยหวังผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิชาชีพ
ในภูมิภาค โดยเฉพาะสาขาที่มีศักยภาพและความพร้อม ประกอบไปด้วยกลยุทธ์ ดังนี้
1. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในเขตชายแดนภาคใต้
2. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในพื้นที่ชายแดน และเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
3. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามโครงการพระราชดำริ
4. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างความเข้าใจอันดี








ยุทธศาสตร์ ที่ 6 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
เพื่อให้การอาชีวศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตั้งแต่การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมทางวิชาชีพ การเชื่อมโยงการวิจัยกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ มีกลไกนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. ส่งเสริมพัฒนาการวิจัย สร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ
2. ส่งเสริมการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการและการเรียนการสอน
3. ส่งเสริมให้นำความรู้ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ไปใช้พัฒนาอาชีพ จดสิทธิบัตร และพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์
4. พัฒนาระบบบริหารจัดการ เครือข่ายงานวิจัย และการจัดการความรู้อาชีวศึกษา ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ