วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานครั้งที่ 14

จุดเด่นในการใช้ (เว็บบล็อก)Weblogหรือบล็อก(Blog) Blogspot.com

- สามารถนำเสนอสื่อมัลติมิเดียที่หลากหลาย เช่น วีดีโอ สไลด์ เพลง รูปภาพ
- เป็นแหล่งรวมความรู้ที่หลากหลาย เผยแพร่และเข้าถึงได้ง่าย
- เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์งานต่าง ๆ
- เป็นแหล่งเก็บข้อมูล ที่ทันสมัย
- ใช้ส่งข้อมูล หรือติดต่อสื่อสาร

จุดด้วยในการใช้ (เว็บบล็อก)Weblogหรือบล็อก(Blog) Blogspot.com

- เครื่องมือที่ใช้มีหลากหลายยังศึกษาได้ไม่ครบทุกตัว ทำให้พัฒนาได้ไม่เต็มที่
- blogspot.com จำเป็นจะต้องศึกษาโปรแกรมอื่นเพิ่มเติมเพื่อได้ใช้งานร่วมกัน

เปรียบเทียบ Blogspot.com กับ Blog Go to Know
 
- blogspot สามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย  สามารถใส่คลิปเพลง คลิปวีดีโอ และลูกเล่นต่างๆ ได้
เย่อะ ทำให้มีความน่าสนใจมาก  เปิดโอกาสให้เจ้าของ blog ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ ส่วนGotokhow ไม่สามารถตกแต่ง blog ได้มาก
- blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้น ส่วนGotokhow เมื่อบันทึกบทความแล้ว นอกจากข้อความจะปรากฏใน blog ตัวเองแล้วยังปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย
-  blogspot ผู้เข้าไปใช้งานจะมีความหลากหลาย ส่วนGotokhow ผู้ใช้งานมักค้นหางานวิชาการหรือเผยแพร่บทความ

รายชื่อกลุ่ม

รายชื่อกลุ่ม

ส่งงานอาจารย์ เรื่องนวัตกรรมในสถานศึกษา

ส่งงานอาจารย์ เรื่องนวัตกรรมในสถานศึกษา

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานครั้งที่ 13

                                     

โครงการพัฒนานักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
กิจกรรมศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
ภาคกลาง – ภาคอีสาน วันที่ 17 - 22 มกราคม 2553

                                                การศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคาย

                                                       
โรงเรียนอนุบาลหนองคายเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,002 คน 49 ห้องเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โทร 042-411051 www.anubannk.org

ผลงานของโรงเรียนอนุบาลหนองคาย
1. โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา
2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. โรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
5. โรงเรียนวิถีพุทธ
6. โรงเรียนส่งเสริมสุภาพ
7. โรงเรียนดีศรีหนองคาย
ซึ่งในการเข้าเยี่ยมชมในครั้งนี้ผู้บริหารได้มาต้อนรับและทำการบรรยายถึงยุทธวิธีการบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ

                                                          การศึกษาดูงานประเทศลาว


ประเทศลาวซึ่งเป็นบ้านพี่เมืองน้องของไทยวิถีชีวิตของคนลาวมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศไทยมากแต่ความเจริญก้าวหน้ายังล้าหลังกว่าประเทศไทย คนลาวจะใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่เป็นหนี้ จะซื้อของส่วนใหญ่จะต้องเป็นเงินสด คนลาวสามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี สภาพบ้านเรือนใกล้เคียงกับสภาพต่างจังหวัดของประเทศไทย สำเนียงภาษาแตกต่างกันแต่ก็สามารถสื่อสารกับเราได้ เพราะจากการพูดคุยเค้าจะดูละครของไทย ฟังเพลงไทย พูดไทยชัด สินค้าที่จำหน่ายส่วนใหญ่เป็นสินค้าเลียนแบบ คุณภาพเหมาะสมราคา

                                                        การศึกษาดูงานที่หมู่บ้านงูจงอาง


ที่บ้านโคกสง่า ตำบลทรายมูล ได้ร่วมดูการแสดงคนกับงูจงอาจ ซึ่งเป็นการแสดงที่ค่อนข้างอันตรายคนที่ไม่มีประสบการณ์จะลองทำไม่ได้ ชีวิตคนที่นั้นยังเป็นสังคมชนบทอยู่มาก มีการหาสมุนไพรมาขาย และได้รับการต้อนรับที่ดีจากชุมชนที่นั้น

                                                        การศึกษาดูงานที่จังหวัดเพชรบุรี


ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ไปถึงก็รวบรวมสมาชิกนั่งเรือชมในเขื่อน และได้ร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในตอนเย็นมีการทำกิจกรรมกลุ่ม ทานข้าว และร้องเพลง เต้นรำกัน

ผลการเรียนที่ความคาดหวังว่าจะได้ คือ A ครับ เพราะความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ ผมได้นำไปใช้ประโยชน์ในการสอนนักศึกษา และผมมีความตั้งใจเรียนไม่ขาดเรียน ทำงานส่งตามกำหนดเวลา และที่อาจารย์สอนทำให้ผมได้นำความรู้ไปพัฒนาการสอนของผมด้วย สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์มากที่ได้ให้ความรู้

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานครั้งที่ 12

การนำเสนอโปรแกรม SPSS FOR WINDOWS
ส่วนประกอบหลักของ
SPSS FOR WINDOWS
-Title Bar บอกชื่อไฟล์
-Menu Bar คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
-Cases ชุดของตัวแปร
-Variable กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar มีสองส่วน
--Variable View
สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร
--Data View
เพิ่มและแก้ไขตัวแปร
-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน
เปิด SPSS Data Editor
File -> New -> Data
กำหนดชื่อและรายละเอียด
จากหน้าจอ Variable View
ป้อนข้อมูล Data View
บันทึกข้อมูล
File -> Save
การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร
ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี
1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก
2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง
เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View
1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex
2. Type ประเภทของตัวแปร
เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK
3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์
ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ
4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ
5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …
5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง
6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร
จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3
ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)
7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา
8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล
7.1 Scale (Interval, Ratio)
7.2 Ordinal
7.3 Nominal
ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies
กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร
4.คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics
5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum
เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue
เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics
6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts
ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 7

วิธีการทำ Webboard ให้สวยงาม

(1) การใส่ปฏิทิน
                                                           
                                     (2) การใส่นาฬิกา
                                                                                 
                                               (3) การทำสไสด์
  
(4) การปรับแต่งสีใน Webboard

                (5) การใส่เพลงลงใน Webboard


การตกแต่งบล๊อก ด้วยปฏิทิน นาฬิกา สไลด์รูปต่างๆ เปลี่ยนสีในรูปแบบ และเพลงนั้น จำเป็นจะต้องใช้โค้ด(ภาษา HTML) ซึ่งเป็นโค้ดที่ต้องเพิ่มใน Gadget ซึ่งเมนูการเพิ่มจะอยู่ที่
แผงควบคุม ---> รูปแบบ ---> เพิ่ม Gadget ---> เพิ่มจาวา/HTML ---> วางโค้ดของปฎิทิน/นาฬิกา/เพลงที่เราได้คัดลอกมาจากโค้ดที่เราค้นหาโดยใช้ Google ---> แล้วสั่งบันทึก ซึ่งจะกลับมาที่หน้ารูปแบบ--->สั่งบันทึกอีกครั้ง--->จะขึ้นข้อความว่าได้"ได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงแล้ว ดูบล๊อก" ---> ซึ่งสามารถดูบล๊อกได้ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่
สำหรับการค้นหาโค้ด โดยใช้ Google นั้น เมื่อเข้าเว็บ Google แล้วใช้คำค้นหา เช่น โค้ดเพลง/โค้ดปฏิทินแต่งบล๊อก/โค้ดนาฬิกา / โค้ดแต่งบล๊อก /หรือระบุเพลงที่ต้องการ เช่น โค้ดเพลงอวยพรวันเกิด/โค้ดเพลงร๊อก/โค้ดเพลง(ชื่อเพลง)
เมื่อได้หน้าเว็บGoogle ที่ขึ้นผลการค้นหาแล้ว เลือกเปิดลิงค์ต่าง ๆ ก็จะได้หน้าเว็บ บางเว็บอาจต้องดาวน์โหลดโค้ด บางเว็บก็ copy โค้ดได้เลย
เมื่อได้โค้ดแล้ว select code แล้วนำไปวางใน Gadget ที่ได้สั่งเพิ่ม HTML/จาวาสคริปต์

ใบงานครั้งที่ 8

1.ความหมายของสถิติ
สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความหมายต่างกัน กล่าวคือ
ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4.ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา ผิวสี ฯลฯ ไม่สามารถนำมาจัดลำดับ หรือนำมาคำนวณได้
-ข้อมูลระดับอันดับ (Ordinal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ แล้วยังสามารถบอกอันดับที่ของความแตกต่างได้ แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างของอันดับที่แน่นนอนได้ หรือไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอันดับที่จัดนั้นมีความแตกต่างกันของระยะห่างเท่าใด เช่น อันดับที่ของการสอบของนักศึกษา อันดับที่ของผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ฯลฯ
-ข้อมูลระดับช่วงชั้น,อันตรภาค (Interval Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีช่วงห่าง หรือระยะห่างเท่าๆ กัน สามารถวัดค่าได้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ GPA คะแนน I.Q. ฯลฯ
-ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีมาตราวัดหรือระดับการวัดที่สูงที่สุด คือนอกจากสามารถแบ่งกลุ่มได้ จัดอันดับได้ มีช่วงห่างของข้อมูลเท่าๆกันแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่มีศูนย์แท้เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง รายได้ จำนวนต่างๆ ฯลฯ
5.ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
6. สมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ หรือตอบปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัย ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ฯลฯ เป็นการเสนอคำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลจากการไปตรวจสอบเอกสาร หรือเป็นการเดาอย่างมีเหตุผลซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
ประเภทของสมมุติฐาน ในวงการวิจัยนั้น สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1. สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ
2. สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน
7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป